รู้ทันภาษีสำหรับงานจัดซื้อ (Tax for Purchasing)

-


หลักการและเหตุผล

     ฝ่ายจัดซื้อมักจะมีปัญหาเรื่อง ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ใบหักภาษีที่จ่าย กับฝ่ายบัญชีเสมอ

แต่ฝ่ายบัญชีไม่ได้อธิบาย ถึงความเสียหายและแนวปฏิบัติที่ถูกต้องในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย

ภาษีอากรได้ 

     ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่นักจัดซื้อต้องมีความรอบรู้ในการเรื่องภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับงานจัดซื้อ

ที่ทำอยู่เพราะหากเกิดความผิดพลาดนั้นหมายถึงเบี้ยปรับและเงินเพิ่มที่บริษัทต้องรับภาระ

     สถาบันได้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดสัมมนารื่องนี้ขึ้นโดยเน้นที่การ

นำไปใช้ปฏิบัติงานในส่วนงานด้านจัดซื้อได้อย่างจริงจัง ซึ่งจะทำใหสามารถปฏิบัติงาน

ได้อย่างถูกต้องลดข้อผิดพลาด และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็สามารถพลิกหาข้อกฎหมายอ้างอิงได้

 

เนื้อหาการสัมมนา

 

Section 1

1.  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย ประกาศ คำสั่งต่างๆ ตามประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวข้องกับ

    งานด้านการจัดซื้อ

2.  ระบบเอกสารหลักฐานและปัญหาทางภาษีอากรที่หน่วยงานจัดซื้อต้องระมัดระวัง

 

Section 2

การหักภาษี ณ ที่จ่าย

ตามหลักเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงใหม่และเกี่ยวข้องกับระบบงานด้านการจัดซื้อ

1.   ผู้มีหน้าที่หัก ภาษี ณ ที่จ่าย

2.   รูปแบบและรายละเอียดของหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายแบบใหม่

3.   อัตราการหักภาษี ณ ที่จ่ายประเภทต่างๆ ที่ต้องทราบและมักมีปัญหา เช่น ค่าบริการ ค่าเช่า

      ขนส่ง จ้างทำของ ฯลฯ

4.   รายการสำคัญๆ ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เช่น เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ชื่อ ที่อยู่

      วันที่ ลายเซ็นฯ

5.   ปัญหาและแนวปฏิบัติเมื่อผู้ขายไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่ายหรือผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 

      แต่ไม่ได้หักไว้

6.   ความผิดจากการหักภาษี ไม่ถูกต้อง ไม่หัก หรือหักอัตราผิด

 

Section 3

แนวปฏิบัติ ข้อควรระวังเกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่มและใบกำกับภาษี

1.   จุดความรับผิดในการออกใบกำกับภาษี

2.   การออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป อย่างย่อหรือออกเป็นชุด

3.   การตรวจรับใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป อย่างย่อหรือออกเป็นชุด

4.   เงื่อนไข และหลักเกณฑ์การออกใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้

5.   เงื่อนไข และหลักเกณฑ์ในการออกใบแทนใบกำกับภาษี

6.   ข้อสังเกตลักษณะของใบกำกับภาษีปลอม

7.   ความผิด กรณีกฎหมายกำหนดว่าต้องออกใบกำกับภาษีแต่ไม่ยอมออกให้ลูกค้าหรือออก

      ใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิ

8.   กรณีชำระเงินด้วยเช็คหรือโอนเงินผ่านธนาคารจะลงวันที่ใดในใบกำกับภาษี

9.   การออกใบกำกับภาษีกรณีมีส่วนลดหรือมีของแถม

10. การคำนวณ VAT และการปัดเศษสตางค์

11. ได้รับใบกำกับภาษีล่าช้า ข้ามเดือน

12. แนวปฏิบัติเมื่อใบกำกับภาษีหาย

วิทยากร


อาจารย์สมชาย วนารักษ์พิทักษ์ (TA)

 ผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอากร (TAX AUDITOR)

ประสบการณ์:

รองผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี บริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน)

ที่ปรึกษาและวางระบบบัญชี ในการบริหารงานด้านบัญชีมากกว่า 25 ปี

กำหนดการสัมมนา

รุ่นที่ 51
วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2567 เวลา 09:00 - 16:00 น.
ZOOM (เต็มวัน)
รุ่นที่ 52
วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 - 16:00 น.
ZOOM (เต็มวัน)
รุ่นที่ 53
วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 - 16:00 น.
ZOOM (เต็มวัน)
รุ่นที่ 54
วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม 2567 เวลา 09:00 - 16:00 น.
ZOOM (เต็มวัน)
รุ่นที่ 55
วันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2567 เวลา 09:00 - 16:00 น.
ZOOM (เต็มวัน)
รุ่นที่ 56
วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09:00 - 16:00 น.
ZOOM (เต็มวัน)

อัตราค่าเข้าร่วมการสัมมนา

3,300+VAT231 = 3,531 (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 99 บาท)
Scroll to Top