ต้นทุนมาตรฐาน (Standard Cost Workshop) การจัดทำและการบันทึกบัญชี การวิเคราะห์ผลต่าง

-


 

ความสำคัญ

            การบัญชีบริหารจะใช้ต้นทุนมาตรฐาน (Standard Costs) ซึ่งกำหนดขึ้นล่วงหน้าสำหรับการผลิตสินค้าแต่ละหน่วยมาเป็นตัววัดผลการปฏิบัติงาน ต้นทุนมาตรฐานสามารถใช้กับกิจการได้แทบทุกประเภท แต่ที่จะกล่าวในที่นี้คือ ต้นทุนการผลิต ที่กล่าวว่าต้นทุนมาตรฐานสามารถใช้ได้กับกิจการแทบทุกประเภทนั้นคือ แม้กระทั่งกิจการอาหารด่วน (fast food) ก็สามารถใช้ ต้นทุนมาตรฐานได้ เพราะกิจการสามารถทราบล่วงหน้าว่าในแอมเบอร์เกอร์ 1 ชุด ต้องจ่ายค่าแดงกวาดอง ค่าเนื้อทอดและค่าขนมปังอย่างละเท่าใด ตลอดจนเครื่องปรุงประกอบอื่น ๆ อีก นอกจากนี้ยังทราบด้วย ว่าแต่ละขั้นตอนการเตรียมแฮมเบอร์เกอร์ควรใช้เวลานานเท่าใด เช่น ทอดเนื้อแต่ละด้านควรใช้เวลากี่นาที เป็นต้น ดังนั้น เมื่อมีค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารหรือวัตถุดิบแต่ละชนิดมากเกินไป หรือใช้เวลาในการทอดเนื้อนานเกินไป กิจการก็จะทราบต้นทุนของวัตถุดิบหรือต้นทุนค่าแรงที่คลาดเคลื่อนไปจากมาตรฐานที่กำหนดไว้ และเมื่อทราบแล้วก็จะได้จัดการแก้ไขต่อไป นอกจากนี้ต้นทุนมาตรฐานยังสามารถใช้ได้กับกิจการที่ไม่หวังผลกำไร เช่น มหาวิทยาลัย องค์กรการกุศล และหน่วยงานของรัฐบาล

หัวข้อการสัมมนา

1. ประโยชน์ที่ได้จากการนำระบบต้นทุนมาตรฐานเข้ามาใช้ในกิจการ

2. ประเภทของต้นทุนมาตรฐานที่จะกำหนด

     -  มาตรฐานราคา (Price Standard)

     -  มาตรฐานปริมาณ (Quantity Standard)

3. แนวทางในการกำหนดต้นทุนมาตรฐาน

     - การกำหนดต้นทุนมาตรฐานวัตถุดิบทางตรง

     - การกำหนดต้นทุนมาตรฐานค่าแรงทางตรง

     -  การกำหนดต้นทุนมาตรฐานค่าใช้จ่ายการผลิต

4. บัตรต้นทุนมาตรฐาน (Standard Cost Sheet)

5. การวิเคราะห์ผลต่างต้นทุนมาตรฐาน (Variance from Standards Analysis)

      -  การวิเคราะห์ผลต่างต้นทุนวัตถุดิบทางตรง (Direct Material Variance Analysis)

      - การวิเคราะห์ผลต่างค่าแรงทางตรง (Direct Labor Variance Analysis)

      - การวิเคราะห์ผลต่างค่าใช้จ่ายการผลิต (Manufacturing Overhead Variance Analysis)

6. ระบบบัญชีและวิธีการบันทึกบัญชีต้นทุนมาตรฐานที่นิยมโดยทั่วไป (Single Plan)

7. การปิดบัญชีผลต่างต้นทุนมาตรฐาน

      - ปิดเข้าบัญชีกำไรขาดทุนหรือบัญชีสรุปผลรายได้รายจ่าย

      -  ถือเป็นส่วนปรับมูลค่าของบัญชีสินค้าคงเหลือและต้นทุนขายประจำงวด

8. การทบทวนมาตรฐานจากที่กำหนดไว้เดิม  (Revision of Standard Costs)

วิทยากร


อาจารย์ ม.ล.วรกัลยา วัฒนสินธุ์

MBA Indiana University U.S.A.

บัญชีมหาบัณฑิต บัญชีบัณฑิต (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่ปรึกษาด้านการบัญชีหน่วยงานรัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชน

อาจารย์พิเศษ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

กำหนดการสัมมนา

รุ่นที่ 70
วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 - 16:00 น.
ZOOM (เต็มวัน)
รุ่นที่ 71
วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน 2567 เวลา 09:00 - 16:00 น.
ZOOM (เต็มวัน)
รุ่นที่ 72
วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2567 เวลา 09:00 - 16:00 น.
ZOOM (เต็มวัน)
รุ่นที่ 73
วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2567 เวลา 09:00 - 16:00 น.
ZOOM (เต็มวัน)
รุ่นที่ 74
วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567 เวลา 09:00 - 16:00 น.
ZOOM (เต็มวัน)
รุ่นที่ 75
วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2567 เวลา 09:00 - 16:00 น.
ZOOM (เต็มวัน)

อัตราค่าเข้าร่วมการสัมมนา

2,700+VAT189 = 2,889 (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 81 บาท)

ห้ามบันทึกภาพ เสียง วีดีโอ แชร์หรือนำไปเผยแพร่

Scroll to Top