เทคนิคการตรวจเอกสารตาม Letter of Credit & UCP 600 เพื่อไม่ให้เสียเปรียบทางการค้า
-
Techniques for checking documents according to L/C & UCP 600
ความสำคัญ
Letter of Credit เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการชำระเงินค่าสินค้าทั้งผู้ส่งออกและผู้นำเข้า ถ้าเข้าใจเงื่อนไขของ L/C คู่ค้าก็ไม่สามารถเอาเปรียบเราได้ โดยเฉพาะเมื่อมีค่าใช้จ่าย เช่น
ค่าธรรมเนียมใครควรรับผิดชอบค่าใช้จ่ายนั้น หรือ
ผู้ส่งออกที่ต้องส่งสินค้าภายใต้เงื่อนไขของ L/C ยิ่งต้องทำเอกสารหาเอกสารให้ครบถ้วนถูกต้องตามที่ L/C กำหนด มิฉะนั้นอาจทำให้ไม่ได้รับเงินตามกำหนดหรือแย่กว่านั้นอาจไม่ได้รับเงินเลย
ผู้นำเข้าก็เช่นเดียวกัน ก่อนจะเห็นสินค้าว่าถูกต้องตามคุณภาพ รวมทั้งจำนวนสินค้าครบถ้วนหรือไม่ก็ต้องชำระเงินก่อนที่จะเห็นสินค้า ก็ต้องเข้าใจใน L/C และเอกสารนั้นถูกต้องหรือไม่
ดังนั้นจะต้องเข้าในเชิงลึกของ L/C โดยละเอียด ว่าอย่างไรทำไม่ได้ อย่างไรทำได้ การสัมมนาครั้งนี้จะให้รายละเอียดในการอ่าน L/C และ UCP 600 ที่ออกโดยสภาหอการค้าระหว่างประเทศที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 2550 ที่มีทั้งหมด 39 มาตรา การจะบอกว่าเอกสารมีที่ผิดหรือถูกนั้นก็ใช้มาตราต่าง ๆ ของ UCP 600 เป็นข้ออ้างอิง เพื่อการนำเสนอเอกสารผ่านธนาคารได้ถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว
OUTLINE
1. วิเคราะห์ Letter of Credit :
- การใช้ Standby ~L/C เพื่อการค้ำประกัน
- ความได้เปรียบเสียเปรียบเทอมการชำระเงิน L/C RESTRICTED หรือไม่
- Incoterms ® 2020 ที่ใช้สอดคล้องตามที่ตกลงหรือไม่
2. ต้องการเอกสารอะไรบ้าง และใครเป็นผู้ออกเอกสารนั้น
3. การใช้ UCP 600 ทั้ง 39 มาตราในการจัดทำเอกสาร
4. UCP 600 ได้ให้ความหมายของ Shipment term ว่านับอย่างไร ถ้า L/C ระบุ
- On or about
- First Half, Second Half
- Beginning, Middle, End
5. UCP 600 จะระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของธนาคาร (Issuing Bank, Confirming Bank)
- มาตราฐานในการตรวจเอกสารตามมาตราที่ 14 ที่จะต้องปฏิบัติ
- การปฏิเสธเอกสารที่มีข้อผิดพลาด (Discrepancy) ของการใช้มาตราที่ 16ต้องปฏิบัตือย่างไร
- การขอใบตราส่งให้สอดคล้องใน L/C (ใช้มาตราที่ 19 ถึง 25)
- ความหมายของคำว่า “CLEAN” ตามมาตราที่ 27
- การจัดหา Insurance Policy/Certificate ตามมาตราที่ 28
- ถ้าวันหมดอายุของ L/C ตรงกับวันหยุดทำอย่างไร(มาตราที่ 29)
- ความหมายของคำว่า “ABOUT” ตามมาตราที่ 30
- การใช้ “PARTIAL SHIPMENT” ตามมาตราที่ 31
- การส่งสินค้าเป็นงวด ๆ ตามาตราที่ 32
- การยื่นเอกสารนอกเวลาทำการของธนาคาร ตามมาตราที่ 33
- เอกสารที่ปลอมแปลงใครรับผิดชอบ มาตราที่ 34
- เอกสารสูญหายล่าช้าใครรับผิดชอบ มาตราที่ 35
- เหตุสุดวิสัย ตามาตราที่ 36
- ผู้ซื้อจะต้องรับผิดต่อการเปิด L/C มาตราที่ 37
- ผู้ขายต้องการโอน L/C ให้กับผู้อื่น ต้องทำอย่างไร มาตราที่ 38
- จะโอนบางส่วนได้ ต้องทำอย่างไร
- ผู้รับโอนมาแล้วจะโอนต่อทำอย่างไร
- ผู้รับประโยชน์ตาม L/C จะหา Supplier ได้อย่างไร มาตราที่ 39
วิทยากร
คุณมนตรี ยุวชาติ
ผู้ประนีประนอม ในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
ประสบการณ์ : ผู้บริหาร บมจ.ธนาคารกรุงเทพ
กำหนดการสัมมนา
รุ่นที่ 37 |
วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 - 16:00 น. โรงแรม แรมแบรนดท์ (สุขุมวิท 18) ซอยสุขุมวิท 18 / สถานี BTS อโศก หรือ สถานี MRT สุขุมวิท |
รุ่นที่ 38 |
วันพุธที่ 24 เมษายน 2567 เวลา 09:00 - 16:00 น. โรงแรม แรมแบรนดท์ (สุขุมวิท 18) ซอยสุขุมวิท 18 / สถานี BTS อโศก หรือ สถานี MRT สุขุมวิท |
รุ่นที่ 39 |
วันพุธที่ 26 มิถุนายน 2567 เวลา 09:00 - 16:00 น. โรงแรม แรมแบรนดท์ (สุขุมวิท 18) ซอยสุขุมวิท 18 / สถานี BTS อโศก หรือ สถานี MRT สุขุมวิท |
รุ่นที่ 40 |
วันพุธที่ 21 สิงหาคม 2567 เวลา 09:00 - 16:00 น. โรงแรม แรมแบรนดท์ (สุขุมวิท 18) ซอยสุขุมวิท 18 / สถานี BTS อโศก หรือ สถานี MRT สุขุมวิท |
รุ่นที่ 41 |
วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2567 เวลา 09:00 - 16:00 น. โรงแรม แรมแบรนดท์ (สุขุมวิท 18) ซอยสุขุมวิท 18 / สถานี BTS อโศก หรือ สถานี MRT สุขุมวิท |
รุ่นที่ 42 |
วันพุธที่ 18 ธันวาคม 2567 เวลา 09:00 - 16:00 น. โรงแรม แรมแบรนดท์ (สุขุมวิท 18) ซอยสุขุมวิท 18 / สถานี BTS อโศก หรือ สถานี MRT สุขุมวิท |
อัตราค่าเข้าร่วมการสัมมนา
4,300+VAT301 = 4,601 (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 129 บาท) |
(รวมเอกสารประกอบการบรรยาย อาหารว่างและอาหารกลางวัน)
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% ก่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ยิ่งอบรมมาก ยิ่งเสียภาษีน้อย ค่าอบรมสามารถลงรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นถึง 200%