ครบเครื่องเรื่องบัญชีและภาษีอากร สำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก (WORK SHOP)...(คอร์ส 2 วัน)

นับชั่วโมงการอบรมผู้ทำบัญชี( บัญชี:6ชม. อื่นๆ:6ชม.)
ผู้สอบบัญชี( บัญชี:6ชม. อื่นๆ:6ชม.)


คอร์สเข้มข้น

- ทำความเข้าใจในหลักการบัญชีที่เป็นมาตรฐาน

- สรุปกฎหมายภาษี กฎระเบียบทางการค้าต่างๆ ที่เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกทั้งระบบ

- เน้นลงมือปฏิบัติบันทึกบัญชี การตรวจสอบเอกสารการค้า

ความสำคัญ

         ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก มีความยากกว่าธุรกิจอื่นอยู่มาก เพราะต้องเกี่ยวข้องเงินตราต่างประเทศ

หลักเกณฑ์ทางภาษีสรรพากร ศุลกากรและกฎหมายอื่น ดังนั้นผู้ทำบัญชีของธุรกิจนี้ นอกจากต้องมี

ประสบการณ์ทางบัญชีแล้ว ยังต้องมีความรู้รอบด้านในเรื่องดังกล่าว

         ทางสถาบันจึงได้จัดสัมมนาเรื่องนี้ขึ้นเพื่อสรุปทั้งระบบเพื่อลดเวลาในการค้นคว้าด้วยตัวเอง

หัวข้อสัมมนา

วันที่ 1

1. ทำความเข้าใจกับ ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก

          - อย่างไรคือการนำเข้า

          - อย่างไรคือการส่งออก

          - อะไรคือเขตปลอดอากร

2. มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก

    (NPAEs บทที่ 4 ,21)

3. รูปแบบการซื้อขายและการชำระเงิน ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก

4. เทคนิคเมื่อต้องทำการค้าขายระหว่างประเทศ

5. เจาะลึกข้อตกลงในการส่งมองสินค้าระหว่างประเทศ

6. ลักษณะจำเพาะของธุรกิจและเอกสารเกี่ยวกับนำเข้า-ส่งออก

7. การวางระบบบัญชีสำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก

          - ผังบัญชี รหัสบัญชี ชื่อบัญชี ที่เหมาะสม

          - ระบบเอกสาร สมุดบัญชี สมุดทะเบียนต่างๆ

          - ระบบการบันทึกบัญชี ระบบการรายงาน

8. ระบบภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก

9. การบันทึกบัญชีกับสิ่งที่ต้องคำนึงถึง

          - กิจการอยู่ในระบบภาษีไหน

          - เอกสารหลักประกอบไปด้วยอะไร

          - การจ่ายรายการนั้นเอามาใช้ทำอะไร

          - ทำไปแล้วเป็นอย่างไร ทรัพย์สินหรือค่าใช้จ่าย

          - รายการที่จ่ายนั้นสมเหตุสมผลหรือไม่

10. Work Shop...

          - การบันทึกบัญชี การตรววจสอบเอกสารก่อนการบันทึกบัญชี

          - การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับ การซื้อ รับเข้าสต็อก

          - การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับ การจ่ายชำระเงินให้ต่างประเทศ

 

วันที่ 2

11. ผลกระทบอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับธุรกิจที่ทำการค้าระหว่างประเทศ

12. กฎหมายเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ที่จำเป็นสำหรับการนำเข้า-ส่งออก

13. หลักเกณฑ์การรับรู้รายได้ ต้นทุนและค่าใช้จ่าย สำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก

      (NPAEs บทที่ 18)

14. การจัดทำรายงานในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ถูกต้องและรัดกุม

15. ประเด็นใดบ้างที่ต้องหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย และมีแนวปฏิบัติอย่างไร

16. ปัญหาและวิธีการคำนวณกำไรขาดทุน สำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก

      (NPAEs บทที่ 18, 21)

17. การบันทึกบัญชี Forword Contract       (NPAEs บทที่ 21)

18. การจัดทำงบการเงิน สำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน

      (NPAEs บทที่ 4)

19. Work Shop...

          - การบันทึกบัญชีจากเอกสารนำเข้า-ส่งออก

          - การบันทึกบัญชีจากการออกเอกสารการค้า การรับชำระเงินจากต่างประเทศ

          - การบันทึกบัญชีตัดสต็อกสินค้า

          - การจัดทำรายงานทางบัญชี สำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก

20. จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

วิทยากร


อาจารย์สุพัฒน์ อุปนิกขิต (CPA)

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ที่ปรึกษาและวางระบบบัญชี

มีประสบการณ์ในการบริหารงานด้านบัญชีมากกว่า 35 ปี

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าเข้าร่วมการสัมมนา

7,400+VAT518 = 7,918 (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 222 บาท)

(รวมเอกสารประกอบการบรรยาย อาหารว่างและอาหารกลางวัน)

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% ก่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ยิ่งอบรมมาก ยิ่งเสียภาษีน้อย ค่าอบรมสามารถลงรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นถึง 200%

Scroll to Top