บัญชีต้นทุน สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรม (WORK SHOP)...(2 วัน)
นับชั่วโมงการอบรมผู้ทำบัญชี( บัญชี:12ชม.)
ผู้สอบบัญชี( บัญชี:12ชม.)
ความสำคัญ
ธุรกิจอุตสาหกรรมมีระบบบัญชีที่ซับซ้อนและละเอียดมากซึ่งนอกเหนือจากประสบการณ์
นักบัญชีต้นทุนต้องมีความรอบคอบและมีความเข้าใจในระบบบัญชีต้นทุนเป็นอย่างดี
เพราะเมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นในระบบข้อมูลต้นทุน อาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด
อย่างร้ายแรงของผู้บริหารได้
สถาบันมั่นใจว่าหลักสูตรนี้จะทำให้นักบัญชีเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง สามารถนำไปปฏิบัติ
ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับธุรกิจ
หัวข้อสัมมนา
เนื้อหาสัมมนา วันแรก
1. ความรู้ที่ผู้จัดทำบัญชีต้นทุนควรทราบเพื่อการจัดทำบัญชีที่มีประสิทธิภาพ
- ความจำเป็นของบัญชีต้นทุนที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการบริหารธุรกิจ
- ความหมายและการจำแนกประเภทต้นทุน
2. ระบบต้นทุนผลิตภัณฑ์
- ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง (Direct Materials)
- ต้นทุนแรงงานทางตรง (Direct Labor)
- ต้นทุนค่าใช้จ่ายการผลิต (Factory Overhead)
3. ระบบต้นทุนงานสั่งทำ (Job Order Costing)
- การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับวัตถุดิบ ค่าแรงและค่าใช้จ่ายการผลิต
- ระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ
- Work Shop . . . ปัญหาตัวอย่าง การคำนวณต้นทุนงานสั่งทำ
4. ระบบต้นทุนช่วงการผลิต (Process Costing)
- ลักษณะของต้นทุนช่วงการผลิต
- ข้อแตกต่างระหว่างระบบต้นทุนช่วงการผลิตและระบบต้นทุนงานสั่งทำ
- การจัดทำงบหรือรายงานต้นทุนการผลิต
- Work Shop . . . ปัญหาตัวอย่าง การคำนวณต้นทุนช่วงการผลิต
5. ต้นทุน - ปริมาณ - กำไร (Cost - Volume - Profit / CVP)
- การวิเคราะห์ต้นทุนเพื่อวางแผนกำไร
- การวิเคราะห์ต้นทุนเพื่อกำหนดราคาขาย
- Work Shop . . . ปัญหาตัวอย่าง การคำนวณและวิเคราะห์ C V P
เนื้อหาสัมมนา วันที่สอง
6. ต้นทุนมาตรฐาน (Standard Costs)
- การกำหนดต้นทุนมาตรฐาน
- มาตรฐานในอุดมคติหรือมาตรฐานปรกติ
- ต้นทุนมาตรฐานต่อหน่วย
- การวิเคราะห์ผลต่าง (Variances from Standards)
- รายงานผลต่าง (Variances Report)
- Work Shop . . . ปัญหาตัวอย่าง กำหนดต้นทุนมาตรฐานและวิเคราะห์ผลต่าง
7. ต้นทุนกิจกรรม (Activity Based Costing)
- การแบ่งสรร (Allocation Base)
- ขั้นตอนการคำนวณต้นทุนกิจกรรมและการวิเคราะห์กิจกรรม
- ประโยชน์และข้อจำกัดของการคำนวณต้นทุนกิจกรรม
- Work Shop . . . ปัญหาตัวอย่าง การคิด คำนวณ ต้นทุนกิจกรรม
8. การวิเคราะห์ต้นทุนเพื่อการตัดสินใจ
- แนวคิดเกี่ยวกับต้นทุน เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ
- ต้นทุนที่เกี่ยวข้อง (Relevant Cost)
- ต้นทุนเสียโอกาส (Opportunity Cost)
- ต้นทุนจม (Sunk Cost)
- การวิเคราะห์ส่วนเพิ่ม (Incremental Analysis)
- การตัดสินใจเกี่ยวกับ การรับคำสั่งซื้อในราคาพิเศษ
- การตัดสินใจเกี่ยวกับ การสั่งซื้อสินค้าจากภายนอกหรือผลิตเอง
- การตัดสินใจเกี่ยวกับ การขายสินค้า ณ จุดที่ผลิตเสร็จหรือนำไปผลิตต่อ
- การตัดสินใจเกี่ยวกับ การซื้อเครื่องจักรใหม่แทนเครื่องจักรเดิม
- การตัดสินใจ เลิกผลิตสินค้าหรือยุบแผนกที่ไม่ทำกำไร
- Work Shop . . . ปัญหาตัวอย่าง คำนวณและวิเคราะห์ต้นทุนเพื่อการตัดสินใจ
วิทยากร
อาจารย์ ม.ล.วรกัลยา วัฒนสินธุ์
MBA Indiana University U.S.A.
บัญชีมหาบัณฑิต บัญชีบัณฑิต (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่ปรึกษาด้านการบัญชีหน่วยงานรัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชน
อาจารย์พิเศษ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
กำหนดการสัมมนา
รุ่นที่ 99 |
เริ่ม วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2566 เวลา 09:00 - 16:30 น.
 ถึง   วันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2566 เวลา 09:00 - 16:30 น. โรงแรม แกรนด์เมอร์เคียว กรุงเทพ เอเทรียม (ถ.เพชรบุรีตัดใหม่) ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ใกล้กับสถานีรถไฟใต้ดินเพชรบุรี (ระยะทางจากสถานี MRT เพชรบุรี ถึง โรงแรมแกรนด์เมอร์เคียวฯ ประมาณ 900 เมตร) |
รุ่นที่ 100 |
เริ่ม วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 - 16:30 น.
 ถึง   วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 - 16:30 น. โรงแรม จัสมิน ซิตี้ (สุขุมวิท 23) ปากซอยสุขุมวิท 23 / สถานี BTS อโศก หรือ สถานี MRT สุขุมวิท |
อัตราค่าเข้าร่วมการสัมมนา
7,400+VAT518 = 7,918 (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 222 บาท) |
(รวมเอกสารประกอบการบรรยาย อาหารว่างและอาหารกลางวัน)
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% ก่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ยิ่งอบรมมาก ยิ่งเสียภาษีน้อย ค่าอบรมสามารถลงรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นถึง 200%